คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
เอกสารในการสมัครสมาชิก ต้องใช้อะไรบ้าง ?
ตอบ เอกสารประกอบการสมัครสมาชิก จะแตกต่างกันไปตามประเภทของสมาชิกที่ลูกค้าสมัคร ซึ่งสามารถดูรายละเอียดในได้เว็บไซท์สถาบันรหัสสากล https://www.gs1th.org/pricing/
ทำไมค่าสมัครไม่เท่ากันในแต่ละเดือน ?
ตอบ ค่าสมัครในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน ซึ่ง มีการถัวเฉลี่ยแล้ว โดยถ้ามาสมัครสมาชิกครึ่งปีแรก เราจะคิดระยะเวลาการเป็นสมาชิกถึงเดือนธันวาคม
ถ้าสมัครสมาชิกครึ่งปีหลัง เราจะรวมของปีถัดไปอีก 1 ปี
หลังจากสมัครสมาชิกแล้ว ภายในกี่วันถึงจะได้รับเลขหมายบาร์โค้ด ?
ตอบ การแจ้งเลขหมายบาร์โค้ด นับจากวันที่ยื่นเอกสารต้องครบถ้วน ถูกต้อง และชำระเงินแล้ว ไม่เกิน 7 วันทำการ
ตอนนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง สามารถใช้อะไรแทนได้บ้าง ?
ตอบ ถ้าไม่มีผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง สามารถใช้รูปถ่าย หรือ โบรชัวร์ หรือ Artwork ฉลากสินค้า อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ภาพ
ถ้าไม่มีความจำเป็นในการใช้งานบาร์โค้ดแล้ว เราไม่ต่ออายุสมาชิก ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี เท่ากับว่า ยกเลิก การเป็นสมาชิกโดยอัตติโนมัติ ใช่หรือไม่ ?
ตอบ ไม่ใช่ การยกเลิกสมาชิกจะต้องยื่นเอกสารการยกเลิกพร้อมเอกสารแนบตามที่แจ้งในหมายเหตุ แบบฟอร์มการยกเลิกสมาชิก โดยเอกสารทุกแผ่นจะต้องมีการเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น โดยผู้มีอำนาจ + ประทับตรา (ถ้ามี) และ ส่งเอกสารฉบับลงนามจริงกลับมายังสถาบันฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบแจ้งชำระ
บริษัทพึ่งจดทะเบียน ยังไม่มีงบกำไร - ขาดทุน ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ หากบริษัทพึ่งจดทะเบียนไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องยื่นแสดงงบกำไร – ขาดทุน
หนังสือมอบอำนาจจะทำเมื่อใด และสถาบันฯ มีแบบฟอร์มให้หรือไม่ ?
ตอบ หนังสือมอบอำนาจจะทำเมื่อผู้มีอำนาจไม่สามารถเซ็นต์ลงนามในเอกสารการสมัครสมาชิกสถาบันรหัสสากลได้ จึงต้องทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ผู้อื่นเซ็นต์ลงนามแทน ส่วนแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไป และมีการลงนามผู้มอบ อำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยาน ลงนาม
กรณีให้ผู้อื่นมายื่นเอกสารการสมัครสมาชิกที่สถาบันฯ ต้องทำหนังสือมอบอำนาจหรือไม่ ?
ตอบ ถ้าผู้มีอำนาจเซ็นต์รับรองเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว บุคคลอื่นสามารถยื่นเอกสารแทนได้โดยไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ
การสมัครสมาชิกแบบออนไลน์ หมายความว่ายื่นสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่ ?
ตอบ การสมัครสมาชิกออนไลน์ หมายถึง สมาชิกกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ และ จะต้องสั่งพิมพ์ใบสมัครและส่งเอกสารประกอบการสมัครมายังสถาบันฯ ด้วยตนเอง, ทางไปรษณีย์ หรือ ทางEmail เมื่อสถาบันฯ ตรวจสอบเอกสารการสมัครว่าครบถ้วนถูกต้อง จึงจะยื่นยันและแจ้งรายละเอียดการชำระเงินให้ท่านอีกครั้ง
จะขอหนังสือรับรองสมาชิก ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ การขอหนังสือรับรองการเป็นสมาชิก สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จาก หน้าดาวน์โหลดแบบฟอร์ม พร้อมแนบสำเนาเอกสารการชำระค่าสมาชิกรายปีล่าสุด และส่งอีเมล์มาที่ info@gs1thailand.org และรอการตอบกลับจากเจ้าหน้าที่
หากได้ทำการยกเลิกการเป็นสมาชิกไปแล้ว และต้องการกลับมาใช้เลขหมายเดิมอีกครั้ง ต้องทำอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?
ตอบ สมาชิกต้องทำจดหมายขอกลับมาใช้เลขหมายเดิมโดยชำระค่าธรรมเนียมการกลับมาใช้เลขเดิม 7,000 บาท + ค่าบำรุงปีปัจจุบัน
พร้อมยื่นใบสมัครและเอกสารประกอบใหม่
สีของแท่งบาร์โค้ด ต้องเป็นสีอะไร ?
ตอบ แท่งบาร์ต้องมีเข้มโทนเย็น และช่องว่างต้องเป็นสีอ่อนโทนร้อน (แต่แนะนำให้แท่งบาร์เป็นสีดำ ช่องว่างเป็นสีขาว) ลูกค้าสามารถดูวิธีการใช้สีอื่นๆ ได้จากคู่มือการใช้งานบาร์โค้ดที่ได้รับจากสถาบันฯ
ทำไมค่าสมาชิกปรับขึ้นจากปีก่อนหน้า ?
ตอบ อัตราค่าสมาชิกรายปีจะถูกปรับขึ้นตามงบกำไร – ขาดทุนในส่วนรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายหากมากกว่า 1 ล้านบาท จะถูกปรับค่าสมาชิกรายปีสูงขึ้นตามอัตราที่กำหนด แต่ถ้าในปีต่อๆไป รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1 ล้านบาท จะถูกปรับลดลงตามอัตราค่าสมาชิกในการสมัครครั้งแรก ทั้งนี้ทางสมาชิกจะต้องมีการยื่นงบกำไร – ขาดทุน เพื่อใช้ในการดำเนินการปรับอัตราค่าสมาชิก ดังกล่าว
การกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า - บาร์โค้ด สำหรับสินค้าค้าปลีก ทำอย่างไร ?
ตอบ ในการกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า – บาร์โค้ด สำหรับสินค้าค้าปลีก นั้น ทางสมาชิกจะต้องมีข้อมูลของสินค้าที่ต้องการก่อน เช่น
บริษัท A ต้องการผลิตน้ำส้มที่มีขนาดและบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังรูป
โดยมีรายละเอียดดังนี้ => น้ำส้มกล่องเล็ก ขนาด 180 มล. / น้ำส้มกล่องใหญ่ ขนาด 1,000 มล. / น้ำส้มแบบขวด ขนาด 350 มล.
วิธีการตั้งเลข
- ให้กำหนดเลขหมายของสินค้านั้นๆ เรียงลำดับต่อๆกันไป ตามรูปแบบที่ทางสถาบัน ฯ กำหนด
*** 885 = รหัสประเทศ + รหัสบริษัท ตามจำนวนโครงสร้างที่ทางสมาชิกได้ยื่นจดทะเบียน + รหัสสินค้า + หมายเลขตรวจสอบ (Check Digit) จะได้ดังนี้
- น้ำส้มกล่องเล็ก ขนาด 180 มล. => 8851234500017
- น้ำส้มกล่องใหญ่ ขนาด 1,000 มล. => 8851234500024
- น้ำส้มแบบขวด ขนาด 350 มล. =>8851234500031
*** สามารคำนวนหมายเลขตรวจสอบได้ที่ https://www.gs1th.org/2018/01/10/check-digit-calculator/
การกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า - บาร์โค้ด สำหรับสินค้าค้าส่ง ทำอย่างไร ?
ตอบ ในการกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า – บาร์โค้ด สำหรับสินค้าค้าส่ง นั้น ทางสมาชิกจะต้องมีข้อมูลของสินค้าค้าปลีกก่อน เช่น
บริษัท A ได้ผลิตสินค้าขึ้นและต้องการส่งสินค้าเข้าห้างในรูปแบบค้าส่ง ดังรูป
โดยมีรายละเอียดดังนี้ => ต้องการบรรจุสินค้าลงกล่องจำนวน 20 ชิ้น / บรรจุสินค้าลงกล่องจำนวน 50 ชิ้น
วิธีการตั้งเลข
- ให้นำเลขหมายของสินค้าค้าปลีกตัวนั้น ตัดหมายเลขตรวจสอบออก (Check Digit)
- นำเลขที่ใช้ในการระบุหน่วยบรรจุภัณฑ์ (Logistic variable – LV) ตั้งแต่ 1 – 9 เติมไว้ที่ด้านหน้า
-
- โดยเลข 1 – 8 หมายถึง เลขที่ใช้ในการระบุหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนับได้ เช่น 10 ชิ้น, 20 ชิ้น, 30 ชิ้น เป็นต้น
- เลข 9 หมายถึง เลขที่ใช้ในการระบุหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถนับได้ เช่น 10 กิโลกรัม, 20 กิโลกรัม, 30 กิโลกรัม เป็นต้น
*** จากตัวอย่าง ต้องการบรรจุลงกล่อง 20 ชิ้น และ 50 ชิ้น ตามลำดับ
-
- หลังจากนั้นให้กำหนดเลขหมายของหน่วยบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ลงไป ตามรูปแบบที่ทางสถาบัน ฯ กำหนด
*** LV + 885 + รหัสบริษัท ตามจำนวนโครงสร้างที่ทางสมาชิกได้ยื่นจดทะเบียน + รหัสสินค้า + หมายเลขตรวจสอบ (Check Digit) จะได้ดังนี้
- กล่องบรรจุสินค้าจำนวน 20 ชิ้น => 18851234501431
- กล่องบรรจุสินค้าจำนวน 50 ชิ้น => 28851234501438
***สามารคำนวนหมายเลขตรวจสอบได้ที่ https://www.gs1th.org/2018/01/10/check-digit-calculator/