การกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า (GTIN-13)
โครงสร้างสำหรับ บุคคล/นิติบุคคล 9 เลขหมาย
X คือรหัสสินค้าที่บริษัทต้องกำหนดเองโดยสินค้ารายการแรกคือ 1 รายการที่สองคือ 2 สามารถกำหนดรายการได้ถึง 9 รายการ โดยสถาบันฯแนะนำให้กำหนดสินค้าเรียงต่อกัน เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้งานเลขหมายและยังทำให้ทราบว่ารหัสสินค้าของสมาชิก ณ ปัจจุบันใช้งานถึงรหัสใดแล้ว โดยเลขหมายที่ได้จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยว่าแต่ละเลขหมายเป็นสินค้าอะไร
วิธีการคำนวณหมายเลขตรวจสอบ
หมายเหตุ : LV คือหน่วยบอกความแตกต่างของหน่วยบรรจุ จะเป็นเลข 1-9 โดยสินค้าทั่วไป จะใช้เป็น เลข 1-8 ส่วนเลข 9 นั้น จะใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักแปรผกผัน เช่น ผัก,ผลไม้ เป็นต้น
C คือตัวเลขตรวจสอบ เกิดจากการคำนวณเท่านั้น เมื่อมีการเปลี่ยนเลข LV ทุกครั้งจะต้องคำนวณตัวเลขตรวจสอบใหม่ทุกครั้ง (วิธีการคำนวณตามด้านบน)
- หลังจากได้ตัวเลขครบ 13 หลักแล้ว ในการทำแท่งบาร์โค้ดนั้น มี 3 วิธีคือ
- ลูกค้าต้องมีโปรแกรมในการทำแท่งบาร์โค้ด หากลูกค้าสนใจในตัวโปรแกรม สามารถติดต่อกับ ผู้สนับสนุน(Vendor) ของทางสถาบันฯได้ที่ www.gs1th.org
- ให้โรงพิมพ์ เป็นผู้จัดทำแท่งบาร์โค้ด
- ให้บริษัทที่เป็นผู้ออกแบบแพคเกจจิ้ง เป็นผู้จัดทำ